
การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น

การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น
องค์ประกอบ และ ช่องทางของการสื่อสาร

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย

ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)

ข้อมูลข่าวสาร (Message)

สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)

ผู้รับข่าวสาร (Receivers)

ความเข้าใจและการตอบสนอง
ช่องทางของการสื่อสาร

หมายถึงสื่อ (Medium) ที่เป็นตัวกลางและอนุญาตให้ข้อมูล/สารสนเทศผ่านจากจุดส่งถึงผู้รับในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง ปริมาณของข้อมูลที่ช่องทางการสื่อสารสามารถนำไปได้นั้น เรียกว่า ความจุของช่องทางการสื่อสาร หรือ แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ซึ่งนับเป็นจำนวนบิต (Bits) ต่อ 1 วินาที (bits per second : bps) สื่อที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสาร ประกอบไปด้วย

สายโทรศัพท์ (Telephone Line) เป็นช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ประกอบด้วยลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว เป็นสายสื่อสารที่ใช้ได้ทั้งในบ้านและในองค์กรธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปองค์การโทรศัพท์ฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้ บริการดังกล่าวได้แก่

Voice-grade Service หมายถึง การสื่อสารข้อมูลในรูปของสัญญาณแอนะล็อก (Analog) บนสายโทรศัพท์ โดยมีโมเด็มเป็นเครื่องแปลงสัญญาณ มีแบนด์วิดธ์เท่ากับ 56 K bps โดยประมาณ

ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีความเร็วและความจุของช่องสื่อสารสูงถึงประมาณ 128 K bps และยังสามารถแยกช่องสื่อสารเดียวกันออกเป็นช่องสื่อสารเสียง และช่องสื่อสารสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์

Two-megabit Service เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีความเร็ว 2 M bps (2,000,000 bits per second) โดยผ่านโมเด็ม สามารถรับข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาพเคลื่อนไหวในระบบวีดิทัศน์ รวมทั้งกราฟิกความเร็วสูง และการเข้าถึงสารสนเทศแบบ on line real-time ของผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ ในระบบเครือข่าย

สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) หรือที่รู้จักในนามของสายโทรทัศน์ (Cable Television) ประกอบด้วยลวดทองแดงหลายเส้นหุ้มด้วยฉนวนกันน้ำ จัดเป็นสายสื่อสารที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณสูง มีการรบกวนต่ำ นิยมใช้เป็นช่องสัญญาณแอนะล้อกผ่านทะเล มหาสมุทร และใช้เป็นช่องสัญญาณในระบบเครือข่ายแบบ LAN มีความจุประมาณ 100 M bps ซึ่จัดได้ว่าเป็นช่องสื่อสารที่มีความจุสูงมาก

สายใยแก้ว (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยหลอดหรือเส้นไฟเบอร์ขนาดเล็กจิ๋วเท่าเส้นผมมนุษย์ ภายในกลวงเพื่อให้แสงเลเซอร์วิ่งผ่าน เป็นสายสื่อสารที่มีความจุของช่องสื่อสารนับเป็นล้านล้านบิตต่อวินาที (Gbps) เนื่องจากใช้แสงในการนำส่งข้อมูลแทนการใช้สัญญาณไฟฟ้า จึงทำให้มีความเร็วในการนำส่งข้อมูลมากกว่าช่องทางการสื่อสารทุกชนิด

สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave Signals หรือ Radio Signals) เป็นช่องทางการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง (High Speed Wireless) ส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟหรือสัญญาณวิทยุ โดยสัญญาณจะวิ่งเป็นเส้นตรง จึงต้องมีสถานีรับ-ส่งเป็นระยะๆ จากจุดส่งถึงจุดรับ สถานีขยายสัญญาณจึงมักตั้งอยู่บนที่สูงเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางขณะส่งสัญญาณไปในอากาศ
ทฤษฏีของการสื่อสาร

ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์

เราแปลคำนี้มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า communication theory ซึ่งมีความหมายครอบคลุมกว้างขวาง รวมไปถึง

theory of communication (ทฤษฎีของการสื่อสาร)

theories in communication (ทฤษฎีในการสื่อสาร)

theories for communication (ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร)

theories about communication (ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร)
วิวัฒนาการของการสื่อสาร

มนุษย์มีการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่างๆเพื่อการสื่อสารมาเป็นเวลานานนับพันปี จากภาพที่ 1 จะเห็นว่า ในระยะแรกนั้น มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติ เช่น แผ่นปาปีรัส การตีกลอง การเป่าเขาสัตว์ จนกระทั่งมีการประดิษฐ์หนังสือพิมพ์ขึ้นประมาณ 59 ปีก่อนคริสตกาล การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการส่งสัญญาณโทรเลขในปี ค.ศ. 1838 และการเกิดขึ้นของวิทยุกระจายเสียงใน ค.ศ. 1848 ในขณะเดียวกันนักประดิษฐ์ส่วนหนึ่งก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทั่วไป สื่อโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1927 และช่วงทศวรรษที่ 1960s (ระหว่าง ค.ศ. 1960 – 1969) คอมพิวเตอร์ก็ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายในเวลาต่อมา เทคโนโลยีที่เรียกกันว่าเป็นสื่อสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1983 และกลายเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติโลกการสื่อสารเลยทีเดียว
ประโยชน์ และ โทษของการสื่อสาร

ประโยชน์ของการสื่อสาร

ลดแรงงานคนในการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการผลิต และช่วยในการคำนวน

เพิ่มความสะดวกสะบายตั้งแต่ส่วนบุคคล จนถึงการคมนาคมและสื่อสารทั่วโลก

เป็นแหล่งความบันเทิง

ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุดชิ้น ซึ่งอิเฎลเห็นว่าเป็นการลดคุณค่าของชิ้นงาน เพราะ Handmadeคืองานชิ้นเดียวในโลก

ลดต้นทุนการผลิต

ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และ เกิดการกระจายโอกาส

ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น

ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น

ทำให้เกิดระบบการป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในกรณีของอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกการผ่อนคลายได้ตามอิสระ

โทษของการสื่อสาร

สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ

เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม (อิเฎลไม่ชอบมาก ๆ)

ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย

ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน

ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat

หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น
รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอน

ปัจจุบันการจัดการศึกษาได้ใช้หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี ปัญญาดี สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและสากล ตลอดจนการศึกษาต่อตามความถนัดและความสนใจของตนหลักสูตรศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

สื่อการสอนหมายถึง สิ่งซึ่งใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติให้แก่ผู้เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มนุษย์รู้จักนำเอาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาให้เป็นสื่อการสอน ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ด้วยความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ทำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ตลอดจนวิธีการแปลก ๆ ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอนกันอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทั้งในระบบวงจรปิด และในระบบทางไกล หรือการใช้ชุดการสอนเพื่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เป็นต้น

ในศตวรรษแห่งภูมิปัญญามีการนำเอา ICT มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เช่นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Assisted Instruction) การเรียนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Leaning) การเรียนโดยใช้การสื่อสารทางไกล (Distance Learning) ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย หรือในโลกแห่งความรู้ (World Knowledge) ซึ่งผู้เรียนมีความสามารถที่จะเรียนเวลาใด สถานที่ใด หรือแม้กระทั่งจะเรียนรู้กับใครก็ได้ตามความสนใจของแต่ละคน จึงเกิดความยืดหยุ่นในการเรียนรู้มากขึ้น
การประยุกต์ใช้การสื่อสารในการเรียนการสอน

รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน

การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ

การส่งการสอนทางไกลด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม

การเรียนการสอนโดยการประชุมทางไกลด้วยวีดีทัศน์

บทเรียนลักษณะข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติ

บันทึกข้อมูลและสารสนเทศด้วยซีดีและดีวีดี

การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีไร้สาย

การศึกษาเชิงลึกด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น